เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดระยอง รวมถึงภาคตะวันออกหลายองค์ได้บวชเรียนและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ศิษยานุศิษย์มากมายที่ให้ความเคารพนับถือ
ปัจจุบันเจ้าอาวาสชื่อ เจ้าอธิการสุรสิทธิ์ อคควโร อายุ 47 ปี พรรษา 25 นักธรรมชั้นเอก
หลวงพ่ออ่ำ เกสโร วัดหนองกะบอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งแห่งภาคตะวันออก มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมา คือ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี และหลวงพ่อลัด วัดหนองกะบอก จ.ระยอง สร้างเครื่องรางของขลังรูปแพะจนมี ชื่อเสียงมีนามเดิม อ่ำ คงจำรูญ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 เม.ย.2408 ที่บ้านหนองสะพาน ต.หนองตะพาน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรมในวัยเด็ก ชอบฟังเทศน์ ติดตามบิดา-มารดาเข้าวัดเป็นประจำ เมื่อเติบโตขึ้นมีความสนใจในเรื่องการสวดมนต์และฟังเทศน์ แสดงความสนใจในการอุปสมบท มักสอบถามบิดามารดาว่า การจะเป็นพระสงฆ์นั้นทำอย่างไร อีกทั้งปรารภกับพี่น้องในครอบครัวเดียวกันว่า “หากข้ามีอายุครบบวชเมื่อใดข้าจะบวชบวชแล้วจะไม่สึกจนตายอยู่ในผ้าเหลืองนั่นแหละ”
ครั้นอายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัด ทับมา ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง มีหลวงปู่ขาว วัดทับมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย เป็นพระคู่สวด มีนามฉายาว่า “เกสโร” ภายหลังอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองกะบอก ก่อนเดินทางออกไปเรียนวิทยาคมกับพระอาจารย์ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน ที่วัดบางเหี้ย ขอเรียนวิชาสร้างเสือแกะจากเขี้ยวเสือ จากหลวงพ่อปานแต่หลวงพ่อปานเรียกไปพบเป็นการ ส่วนตัวบอกว่าหลวงปู่อ่ำไร้วาสนาทางสร้างเสือมหาอำนาจ แต่ท่านจะสอนวิชาสร้างแพะ แกะจากเขาควายเผือกฟ้าผ่าตาย อันเป็นสุดยอดเครื่องรางของขลังให้แทนเมื่อกลับมาที่วัดหนองกะบอก อยู่จำพรรษาจนถึงสมัยหลวงพ่อยอด เจ้าอาวาสรูปที่ 5 เริ่มงานสร้างอุโบสถวัดหนองกะบอก แต่แล้วหลวงพ่อยอดกลับมาอาพาธจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสต่อไปได้ จึงลาสิกขาออกไปรักษาตัว ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงว่างลง คณะสงฆ์จึงประชุมชาวบ้านหนองกะบอก มีมติให้หลวงปู่อ่ำดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน
หลวงปู่อ่ำรับตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมา เวลานั้นอุโบสถเพิ่งเริ่มงานสร้าง เสนาสนะกุฏิสงฆ์จำพรรษาชำรุดทรุดโทรม ทุกอย่าง ต้องใช้เงินในการดำเนินการเป็นจำนวนมาก หลวงปู่อ่ำจึงต้องสร้างแพะเพื่อสมนาคุณแก่ ผู้สละทรัพย์ในการสร้างอุโบสถ และบูรณปฏิสังขรณ์วัดหนองกะบอก เพื่อฉลองศรัทธาต่อมาจึงสามารถสร้างศาลาการเปรียญและโรงเรียนประชาบาล ด้วยการสร้างแพะสมนาคุณกับญาติโยมในเวลาต่อมาหลวงปู่อ่ำ เป็นพระที่พูดน้อยแบบถามคำตอบคำ ไม่โอ้อวดวิทยาคม แต่ไม่ปฏิเสธหากมีผู้มาขอความช่วยเหลือ หลวงปู่สั่งสอนให้ศิษย์ทุกคนบูชาพระอรหันต์ประจำชีวิต คือ บิดา-มารดา ให้ดีที่สุดก่อนจึงค่อยบูชาพระรัตนตรัย เพราะบิดา-มารดาเป็นพระอรหันต์ประจำชีวิตของลูกทุกคน
ด้วยศีลาจารวัตรงดงามครองจีวรเป็นระเบียบ ทำให้ชาวบ้านหนองกะบอกให้ความเลื่อมใสศรัทธา ชาวบ้านใน จ.ระยอง และใกล้เคียง นิยมเรียกขานท่านว่า “หลวงปู่อ่ำ เรือเก่า” จนติดปาก แม้แต่ในภาพถ่ายประจำวัดก็ยังจารึกนามของท่านว่า “พระครูเทพสิทธิการ (หลวงปู่อ่ำ เรือเก่า)”
มีเรื่องเล่าว่า … มีสองตายายนำเรือเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาขึ้นคานติดประกาศขายไว้หน้าบ้านในราคาที่ถูก เพื่อจะเอาเงินที่ได้มาเลี้ยงชีวิตยามแก่ เวลาผ่านไปไม่มีใครมาแวะดูเรือเก่าของสองตายาย สองตายายรู้สึกวิตกเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกว่าไม่มีที่พึ่งที่ไหนอีกแล้ว วันหนึ่งเมื่อใส่บาตรหลวงปู่อ่ำเสร็จแล้ว ยายจึงยกมือพนมไหว้ บอกให้รู้ถึงความทุกข์ในใจ
“หลวงพ่ออ่ำเจ้าขา อิฉันประกาศขายเรือเก่ามาปีหนึ่งแล้วไม่มีใครใส่ใจดู เดินผ่านไปผ่านมาไปซื้อเรือใหม่กันหมด อิฉันต้องการให้หลวงพ่อช่วยให้อิฉันขายเรือเก่าลำนี้ได้ด้วยเถิดเจ้าข้า เงินที่ได้มาอิฉันกับตาจะได้เลี้ยงชีวิตจนกว่าจะตาย” หลวงปู่อ่ำเดินไปที่เรือเก่าใช้มือลูบหัวเรือไปมาก่อนจะถอยออกมายืนบริกรรมอยู่ด้านหน้าเรือแล้วบอกกับสองตายายว่า “ในเจ็ดวันนี่แหละเรือนี้จะขายได้” ปรากฏว่า มีผู้มาซื้อเรือตามที่หลวงปู่อ่ำลั่นปากไว้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนต่างถวายฉายาเป็น “หลวงปู่อ่ำ เรือเก่า”
ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันศุกร์ที่ 1 ส.ค. 2495 สิริอายุรวม 87 ปี พรรษา 66
พระครูวิจิตรธรรมานุวัต (หลวงปู่ลัด)นอกจากท่านจะเป็นศิษย์เอก หรือศิษย์ทายาทของ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย และหลวงพ่ออ่ำ เรือเก่า สองพระเกจิอาจารย์ผู้ยิ่งยงของภาคตะวันออกแล้ว ท่านยังได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ปรมาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งภาคตะวันออกอีกด้วย นับได้ว่า หลวงพ่อลัด ท่านเป็นศิษย์ของ 3 พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคสมัยนั้น หาเกจิอาจารย์ได้น้อยรูปนักที่จักได้เป็น แบบท่าน หลวงพ่อลัด ท่านเป็นลูกศิษย์ของ 3 พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคตะวันออกคือหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก และ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ( หลวงพ่อลัด ) ผู้เป็นทั้งศิษย์ทายาทธรรม และศิษย์ที่สืบทอดทั้งวิทยาอาคมและสืบสายสมณศักดิ์ที่ พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอบ้านค่ายของ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย จ.ระยอง ได้ยอมเปิดเผยให้เป็นที่รู้จักในบั้นปลายของชีวิตท่านว่า อำเภอบ้านค่ายนั้น ไม่เคยขาดสายพระอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเลย เมื่อปี พ.ศ. 2481 วัดราชบพิตรฯ ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 150 ปีขึ้น พระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมนั่งปรกปลุกเสกในพิธีนั้น จะต้องเป็นผู้แก่กล้าวิชาอาคมอย่างแท้จริง อำเภออื่นๆ หรือจังหวัดอื่นๆ จะนิมนต์ไปเพียงองค์เดียวเท่านั้น แต่เฉพาะที่อำเภอบ้านค่ายได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีถึง 2 องค์ คือ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย กับ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก และทั้ง 2 ท่านนี้คือ พระอาจารย์ของ หลวงพ่อลัด ยิ่งไปกว่านั้น หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ พระอาจารย์ชื่อดังของเมืองชลบุรีและได้รับกิจนิมนต์ไปในพิธีวัดราชบพิตรฯ ด้วยเช่นกัน ก็เป็นพระอาจารย์ของ หลวงพ่อลัด อีกท่านหนึ่ง ที่ได้ถ่ายทอดวิชา ตะกรุดหนังกลองแตก ให้กับหลวงพ่อลัดด้วย
หลวงพ่อลัด จึงเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ชื่อดังระดับประเทศถึง 3 ท่านด้วยกันดังกล่าว ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจากพระอาจารย์ทั้ง 3 ท่านอย่างมากมาย นับเป็นศิษย์ผู้มีความรู้แตกฉานในวิชาอาคมต่างๆ อย่างแท้จริง หลวงพ่อลัด มีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย และมีวัดที่อยู่ในการปกครองดูแลถึง 40 วัด ท่านจึงมุ่งงานด้านบริหารศาสนกิจเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมญาติโยมทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานไปด้วย...แต่ในด้านวัตถุมงคล ได้มีผู้ขอร้องให้ท่านสร้างไว้เป็นที่ระลึกบ้าง แต่ท่านก็เฉยเสีย คงสร้าง แพะ ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง อันสำคัญของวัดหนองกระบอก ที่ได้มีการสร้างกันมาตลอด โดยสร้างในพรรษา ครั้งละไม่กี่ตัว
หลวงพ่อลัด เป็นชาวบ้านค่ายโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ ปีขาล พ.ศ. 2445 เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารแล้ว ก็ได้เข้ารับใช้ชาติ เป็นทหารเรืออยู่ 2 ปี ออกจากราชการทหารแล้วก็ได้อปสมบท เมื่ออายุได้ 23 ปี ณ วัดบ้านค่าย โดยมี หลวงพ่อวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า กิตติสาโร เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาธรรมมะและวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่อวงศ์ และหลวงพ่อวงศ์ก็ได้ให้ พระรัตน์ ไป ฝึกกสิณธาตุกับ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก อันเป็นวัดที่อยู่ใกล้กัน หลวงพ่ออ่ำเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงพ่อวงศ์ หลวงพ่ออ่ำ ได้ให้หลวงพ่อลัด ฝึกเพ่งกสิณ ด้วยอุบายอันแยบยล ทำให้หลวงพ่อลัด ฝึกเพ่งกสิณได้สำเร็จ ด้วยการให้อ่านหนังสือในห้องมืด โดยใช้แสงสว่างจากใจที่เกิดจากดวงกสิณธาตุ เป็นเครื่องส่องนำ
นอกจากนี้หลวงพ่ออ่ำ ยังได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างและปลุกเสก แพะ อันเป็นเครื่องรางของขลัง อันสำคัญประจำวัดหนองกระบอก ให้หลวงพ่อลัดด้วย ในขณะที่หลวงพ่อวงศ์ และหลวงพ่ออ่ำ ดังเงียบๆ อยู่เฉพาะอำเภอบ้านค่ายนั้น ทางด้านหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ กำลังดังระเบิด ใครๆ ก็รู้จักหลวงพ่ออี๋ทั้งนั้น หลวงพ่ออี๋ก็ได้มาหา หลวงพ่อวงศ์และหลวงพ่ออ่ำเสมอๆ เพื่อการค้นคว้าปรึกษาวิชาการต่างๆ ทางคาถาอาคม เพราะหลวงพ่ออี๋เคารพนับถือหลวงพ่อวงศ์และหลวงพ่ออ่ำมากแม้แต่เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่ออี๋ ก็ยังเอามาให้หลวงพ่อวงศ์ช่วยปลุกเสกให้ด้วย และตรวจดูว่าใช้ได้แล้วหรือยัง .ในระยะที่หลวงพ่ออี๋ มาหาหลวงพ่อวงศ์ และหลวงพ่ออ่ำ นี้เอง ท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชาสำคัญของท่านให้กับหลวงพ่อลัดด้วย คือ วิชาการสร้าง ตะกรุดหนังกลองแตก โดยมี หลวงพ่อมงคล ซึ่งติดตามหลวงพ่ออี๋ มาร่วมเรียนด้วย ภายหลังหลวงพ่อมงคล องค์นี้ได้ไปอยู่วัดแสมสาร ช่องแสมสาร สัตหีบ ท่านได้ทำปลัดขิก และตะกรุดหนังกลองแตก จนโด่งดังอย่างเงียบๆในท้องถิ่น ท่านมักจะพูดให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า วิชาตะกรุดหนังกลองแตกนี้ หลวงพ่ออี๋ ได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ไว้เพียง 2 คนคือ ตัวท่านเองกับหลวงพ่อลัด
วัดบ้านค่าย( หลวงพ่อมงคล มรณภาพเมื่อปี 2529) เมื่อหลวงพ่อวงศ์มรณภาพได้ปีเศษ ที่ประชุมสงฆ์จังหวัดระยอง และอำเภอบ้านค่าย ซึ่งก็มีหลวงพ่ออ่ำ อาจารย์ของหลวงพ่อลัด ร่วมประชุมอยู่ด้วย ต่างมีมติเห็นว่า หลวงพ่อลัด นอกจากจะปราดเปรื่องทางวิทยาอาคมแล้ว ยังมีความรู้ทางด้านปริยัติธรรมและหนังสือแตกฉานมาก สมควรที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย สืบแทนต่อจากหลวงพ่อวงศ์
หลวงพ่อลัด จึงได้รับตำแหน่งนี้ ในสมณศักดิ์เดิมของหลวงพ่อวงศ์คือ พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ เจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย ในขณะที่หลวงพ่อลัด อายุได้เพียง 40 ปีเศษ ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาถึงปัจจุบันนี้ ปกครองดูแลวัดในอำเภอถึง 40 วัดด้วยกัน แม้จะมีภารกิจในด้านศาสนกิจมากมาย แต่หลวงพ่อลัดก็ไม่ได้ทอดทิ้งวิชาการสร้าง แพะ ที่แกะจากเขาควายฟ้าผ่า ในทุกๆ พรรษาครั้งละไม่มากนัก พอออกพรรษาก็มีผู้มารับไปหมด สำหรับวัตถุมงคลอื่นๆ ท่านไม่ได้ทำ เพราะท่านมุ่งงานทางด้านปริยัติธรรม และพัฒนาวัดในเขตปกครองมากกว่า ทั้งยังได้ฝึกฝนอบรมการนั่งสมาธิ ฝึกการทำวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ญาติโยมชาวบ้านทั่วไป ท่านพระครูวิจิตรธรรมานุวัต (หลวงปู่ลัด) วัดหนองกะบอก เป็นพระอาจารย์ ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชา สร้างและปลุกเสกแพะเขาควายฟ้าผ่าจากหลวงพ่ออ่ำ อดีตพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งวัดหนองกะบอก
ผู้ปลุกเสกแพะได้ จะต้องมีพระที่มีสัจจปฏิญาณมากมาย 1.บวชไม่สึก 2.เพ่งกสิณไฟสำเร็จ 3.อ่านหนังสือในที่มืดได้ 4.แพะแกะจากเขาควายที่ถูกฟ้าผ่า กรรมวิธีในการสร้างถูกต้องตามแบบหลวงพ่ออ่ำ ไม่มีผิดเพี้ยน ขั้นตอนในการสร้างยากลำบากจึงมีผู้รับการถ่ายทอดไว้น้อย แต่หลวงปู่ลัด พร้อมทุกอย่างจึงเป็นพระที่ได้เรียนวิชานี้ไว้ แพะที่สร้างในสมัยหลวงพ่ออ่ำ หลวงปู่ลัดก็ร่วมปลุกเสกแทบทุกรุ่น ในปัจจุบันนี้มี้มีราคาแลกเปลี่ยนก็สูงครับ หลวงพ่อลัดท่านเป็นพระที่ฉลาด หัวไว ความจำดีมากครับ เวลาเรียนไสยเวทย์ ต่างๆหลวงพ่อลัดท่านจึงเรียนได้เร็ว จนเป็นที่มาของชื่อ ว่าลัด คือเรียนอะไรก็จะเร็วไปหมดไงครับ เมื่อหลวงปู่ลัด ได้รับแพะเพื่อมาเตรียมปลุกเสกแล้ว หลวงปู่ลัดจะทำการเรียกวิญญาณ 32 ด้วยบทคาถา เกษา โลมา นขา ทันตา จนครบ 32 แพะทุกตัวจะมีธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ จากนั้น หลวงปู่จะนั่งเพ่งกสิณไฟเสกด้วยพระคาถา กรณีเมตาสูตรตามกำลังวันทุกคืน แพะของหลวงพ่อลัด นั้นปลุกเสกแต่ละครั้งไม่มาก ครั้งนึงไม่มากครับ หลวงพ่อลัดจะปลุกเสก สัปดาห์ละวัน วันละคาบและปลุกเสกจนแพะดิ้นได้ จึงจะเป็นอันใช้ได้
ลุงเริงเล่าว่าแพะจะใช้ได้ต้องปลุกเสกจนครบเจ็ดคาบ ถึงจะครบตามสูตร คือใช้เวลาประมาณ เจ็ดสัปดาห์ และปลุกเสกทุกครั้งแพะต้องดิ้นได้หรือกระโดดได้ในพาน ทุกครั้งที่หลวงพ่อลัด ปลุกเสกครับ ซึ่งสมัยนี้จะหาเกจิอาจารย์องค์ไหนที่ทำแบบนี้ ได้ยากมาก แพะของท่านจึงเข้มขลังและพุทธคุณโดดเด่นมากครับ เรื่องเมตตาค้าขาย หากบูชาอย่างจริงจัง กรรมวิธีในการสร้างถูกต้องตามแบบหลวงพ่ออ่ำ ไม่มีผิดเพี้ยน การจัดสร้างและปลุกเสกแพะนั้นมิได้ทำกันง่ายๆ และไม่ได้ทำบ่อยครั้ง เมื่อจัดสร้างและปลุกเสกได้ครบตามแบบที่โบราณาจารย์กำหนดก็จะส่งผลส่งคุณให้กับผู้บูชาได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดที่สุด คาถานี้ได้มาจาก ลุงเนตร ลูกศิษย์หลวงพ่อลัด เอามาแบ่งปันให้
ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดชุมนุม เทวดา แล้วว่า อัคคี อุมะมิ เนตวา โอโล เกติ มิมา มะมะมิ อิมามะมะมา เอหิ อิตถี เอหิ มหาลาภัง เมตตาจิตตัง อรหัง มะมิ ปลุกเสกแพะตามกำลังวัน ทำประจำๆ แพะของท่านจะเข้มขลังมาก